บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
นางสาวกนกพร  เข่าผักแว่น ห้อง ทล.บ. 21  รหัส 5942040601 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ นางสาวรัตติยากร  การกระสัง ห้อง ทล.บ. 21  รหัส 5942040609 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์

การรวบรวมประสบการณ์ฝึกงาน ใน บริษัท วีวราออยล์ จำกัด

รูปภาพ
               ในการฝึกประสบการณ์ของข้าพเจ้า นางสาวกนกพร  เข่าผักแว่น  ได้ฝึกปฏิบัติงานใน บริษัท  วีวราออยล์ จำกัด  ซึ่งได้ปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561              ข้าพเจ้าขอสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1 วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน 2 ขั้นตอนการดำเนินการฝึกงาน 3 สรุปผลการฝึกงาน 4 อภิปรายผล 5 ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ                   5.1 ปัญหาอุปสรรค                    5.2 ข้อเสนอแนะในการนำวิชาความรู้จากการฝึกงานไปประกอบอาชีพ                     มีรายละเอียดดังนี้ 1     วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน             1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มทักษะ สร้างประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพตามความเป็นจริงในสถานประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป       ...

รวบรวมการฝึกประสบการณ์การฝึกงาน ในสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์

รูปภาพ
         ในการฝึกประสบการณ์ของข้าพเจ้า นางสาวกนกพร  เข่าผักแว่น  ได้ฝึกปฏิบัติงานในสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ แผนกก่อสร้าง ซึ่งได้ปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2561                ข้าพเจ้าขอสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1 วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน 2 ขั้นตอนการดำเนินการฝึกงาน 3 สรุปผลการฝึกงาน 4 อภิปรายผล 5 ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ                   5.1 ปัญหาอุปสรรค                    5.2 ข้อเสนอแนะในการนำวิชาความรู้จากการฝึกงานไปประกอบอาชีพ                     มีรายละเอียดดังนี้ 1   วัตถุประสงค์ของการฝึกงาน             1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มทักษะ สร้างประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพตามความเป็นจริงในสถานประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป       ...

ข้อมูลเบื้องต้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บริษัท วีวราออยล์ จำกัด

รูปภาพ
กลุ่มบริษัทในเครือ วีวรา  Veevara Grop เกี่ยวกับเรา            ห้างหุ้นส่วนจํากัด ฐิติพิทยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพศ. 2529 เพื่อดําเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันภายใต้ยี่ห้อเอสโซ่ บนถนนสายหลักเส้นต่างๆในเขตอําเภอเมืองบุรีรัมย์เพื่อรองรับปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของจังหวัดด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้ก่อตั้งและนักบริหารมืออาชีพ            หจก. ฐิติพิทยาจึงได้เริ่มขยายกิจการเพื่อสร้างโครงข่ายรากฐานอันยั่งยืนในธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงและจัดตั้ง บริษัทบุรีรัมย์ วี. อาร์. ขนส่ง จํากัดขึ้นในปีพ.ศ. 2535 และเปลี่ยนชื่อจาก หจก. ฐิติพิทยา เป็น บริษัท วีวราออยล์ จํากัด ในปีพ.ศ. 2538โดยยังคงดําเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน และเริ่มดําเนินธุรกิจค้าส่งน้ำมัน รวมถึงธุรกิจจําหน่ายตั๋วรับน้ำมัน เพื่อส่งเสริมให้แต่ละส่วนดําเนินธุรกิจได้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น            ในปีพ.ศ. 2538 บริษัทวีวราออยล์ได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท วีวรา (1995) จํากัดขึ้น เพื่อรองรับยอดขายแ...

ข้อมูลเบื้องต้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์

รูปภาพ
ข้อมูลเบื้องต้น ประวัติความเป็นมา           เดิมเป็นกรมโยธาธิการเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นผู้เข้ามาดำเนินการเช่นเดียวกับ การไฟฟ้าอื่นๆ จนมีพระราชบัญญัติ (พรบ.) ก่อตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในปี 2503 จึงได้โอนกิจการในจังหวัดบุรีรัมย์มาดำเนินการเอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่เลขที่ 308/3 ถนนสุนทรเทพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้นและเป็นอาคารไม้ (โรงจักรเก่า) ตั้งอยู่บนพื้นที่ราชพัสดุ ประมาณ     2 ไร่เศษ ซึ่งเป็นอาคารติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 1,000 วัตต์ จ่ายไฟให้ปราชนในเขต เทศบาลและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์  ได้ดำเนินการขยายเขตระบบจำหน่าย ไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่ไปยังหมู่บ้านต่างๆ คิดเป็น 100% จวบจนวันที่ 2 กรกฎาคม 2543 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน เลขที่ 81747 ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 10 ไร่ เป็นวงเงิน 4,440,000 บาท และในปี 2547 ได้รับอนุมัติประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงาน เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 4 ชั้น มีอาคารเก็บพัสดุ อาคารรับแ...

ภาษิต คำคมการจัดการความรู้

Knowledge resides in the users and not in the collection.  ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้  (Y. Maholtra) KM is a Journey, not a destination.  การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง  (Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai) A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.  ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ  (Kahlil Gibran) Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.  ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล  Knowledge is not what you know, but is what you do.  ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ  Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents  but rather interactions between people.  การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน  (Mason &...

คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณประสาน

คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ 1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) สำหรับวงการจัดการความรู้ ถ้าผู้บริหารสูงสุดเป็นแชมเปี้ยน (เห็นคุณค่า และดำเนินการผลักดัน KM) เรื่องที่ว่ายากทั้งหลายก็ง่ายขึ้น ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการความรู้ โดยกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ “คุณเอื้อ (ระบบ)” ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิบดี, รองผู้อำนวยการใหญ่ 2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) ถ้าการริเริ่มมาจากผู้บริหารสูงสุด “คุณเอื้อ” ก็สบายไปเปลาะหนึ่ง แต่ถ้าการริเริ่มที่แท้จริงไม่ได้มาจากผู้บริหารสูงสุด บทบาทแรกของ “คุณเอื้อ” ก็คือ นำ เป้าหมาย/หัวปลา ไปขายผู้บริหารสูงสุด ให้ผู้บริหารสูงสุดกลายเป็นเจ้าของ “หัวปลา” ให้ได้ บทบาทต่อไปของ “คุณเอื้อ” คือ การหา “คุณอำนวย” และร่วมกับ “คุณอำนวย” จัดให้มีการกำหนด “เป้าหมาย/หัวปลา” ในระดับย่อยๆ ของ “คุณกิจ/ผู้ปฏิบัติงาน”, คอยเชื่อมโยง “หัวปลา” เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ขององค์กร, จัดบรรยากาศแนวราบ และการบริหารงานแบบเอื้ออำนาจ (Empowerment), ร่วม Share ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการด...

โมเดลการจัดการความรู้

รูปภาพ
โมเดลเซกิ (SECI Model) ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit        กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา 2. การสกัดค...

ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP = Community of Practice)

          ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP = Community of Practice) คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้ ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม           ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดัง...

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้           ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและประหยัดเวลา การประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน         - งานจัดเก็บเอกสาร การเผยแพร่เอกสาร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนกหรือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล           - งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการ เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดยอัตโนมัติได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น          - งานจัดเก็บและค้นเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่าน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น   ...